การทำฝนเทียม
การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน การทำฝนเทียมเป็นกรรมวิธีเลียนแบบธรรมชาติ โดยทำจากเมฆซึ่งมีลักษณะพอเหมาะที่จะเกิดฝนได้ จากนั้นจึงเร่งให้เกิดการควบแน่นของเมฆ ด้วย 3 ขั้นตอน คือ ก่อกวน, เลี้ยงให้อ้วน, และโจมตี มักทำใน 2 สภาวะ คือ การทำฝนเมฆเย็น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส และ การทำฝนเมฆอุ่น เมื่อเมฆมีอุณหภูมิสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส การทำฝนเทียมในสองสภาวะนี้จะใช้สารในการดัดแปรสภาพอากาศที่แตกต่างกัน[1]
ขั้นตอนการทำฝนเทียม[แก้]
ขั้นตอนที่หนึ่ง : "ก่อเมฆ"[แก้]
เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง
การปฏิบัติการในขั้นตอนนี้มุ่งใช้สารเคมีกระตุ้นให้มวลอากาศลอยตัวขึ้นสู่
เบื้องบน
เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำหรือความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิดเมฆ
ระยะเวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ไม่ควรเกิน 10.00 น. ของแต่ละวัน
โดยการใช้สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวลอากาศได้
แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ (มีค่า critical relative humidity
ต่ำ) เพื่อกระตุ้นกลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวลอากาศ
(เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเมฆด้วย)
ทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมาย
เมื่อเมฆเริ่มก่อตัวและเจริญเติบโตทางตั้งแล้ว
จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อนโปรยเป็นวงกลมหรือเป็นแนวถัดมาทาง
ใต้ลมเป็นระยะทางสั้น ๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วม
(main cloud core) ในบริเวณ
ปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่สอง : "เลี้ยงให้อ้วน"[แก้]
ขั้นตอนที่สอง : "เลี้ยงให้อ้วน"[แก้]
เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะสำคัญมากในการปฏิบัติ
การ เพราะจะต้องเพิ่มพลังงานให้แก่ updraft ให้ยาวนานออกไป
ต้องใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์การทำฝนควบคู่ไปพร้อมกันเพื่อตัดสินใจโปรยสาร
เคมีชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ และในอัตราใดจึงเหมาะสม
เพราะต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุลกับความแรงของ updraft
มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย
ขั้นตอนที่สาม : "โจมตี"[แก้]
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง เมฆ หรือ
กลุ่มเมฆฝนมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้
ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย
หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีกและกระจังหน้า
ของเครื่องบิน เป็นขั้นตอนที่สำคัญ ต้องอาศัยประสบการณ์มาก
เพราะจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงของ updraft หรือทำให้อายุของ
updraft หมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้
จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2
ประเด็นคือเพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน
สารเคมีที่ใช้ทำฝนเทียม[แก้]
สารเคมีประเภทคลายความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (Exothermic chemical) ปัจจุบันนี้มีใช้ในการทำฝนเทียมในประเทศไทย 3 ชนิด คือ
- แคลเซียมคาร์ไบด์ (Calcium carbide; CaC2)
- แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium Chloride; CaCl2)
- แคลเซียมออกไซด์ (Calcium Oxide; CaO)
สารเคมีประเภทดูดกลืนความร้อนหรือทำให้อุณหภูมิต่ำลง (Endothermic Chemicals) ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีประเภทนี้อยู่ 3 ชนิด คือ
- ยูเรีย (Urea; CO(NH2)2)
- แอมโมเนียไนเตรด (Ammoniumnitrate; NH4N03)
- น้ำแข็งแห้ง (Dry ice; CO2(S))
สารเคมีที่ทำหน้าที่ดูดซับความชื้นประการเดียว
- เกลือ (Sodium chloride; NaCl)
- สารเคมีสูตร ท.1
การทำฝนเทียมนั้นใช้เพื่อประโยชน์หลากหลาย เช่น การเกษตร ดับไฟป่า หรือกระทั่งเพื่อป้องกันการตกของฝนในวันที่กำหนด เช่นในโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 ที่ประเทศจีน[2]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น